รูปภาพของTriZit  Benjaboonyazit
Eco-Innovative Examples for 40 TRIZ Inventive Principles
โดย TriZit Benjaboonyazit - เสาร์, 9 มีนาคม 2013, 09:19AM
 
The examples shown thereinafter are matched with 40 TRIZ inventive principles as far as possible.

Moreover, they are categorized according to the seven eco-efficiency elements . The seven elements are:

A. Reduce the material intensity of its goods and services. (Material Reduction)
B. Reduce the energy intensity of its goods and services. (Energy Reduction)
C. Reduce the dispersion of any toxic materials. (Toxicity Reduction)
D. Enhance the recyclability of its materials. (Material Retrieval)
E. Maximize the sustainable use of renewable resources. (Resource Sustainable)
F. Extend the durability of its products. (Product Durability)G. Increase the service intensity of its goods and services. (Product Service)

As each element improves or more elements improve simultaneously, it produces high eco-efficiency products or services.

http://www.triz-journal.com/archives/2003/08/a/01.pdf
รูปภาพของTriZit  Benjaboonyazit
ตอบ: Eco-Innovative Examples for 40 TRIZ Inventive Principles
โดย TriZit Benjaboonyazit - พุธ, 13 มีนาคม 2013, 04:35AM
 
ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency; EE) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Click ที่นี่เพื่อ download เอกสาร PDF
1. Eco-efficiency คืออะไร1
ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ Eco-efficiency มาจากการรวมกันของคำว่า Ecology ที่แปลว่าระบบนิเวศ และ Economy ที่แปลว่าเศรษฐกิจ กับคำว่า Efficiency ที่แปลว่า ประสิทธิภาพ ดังนั้น คำว่า Eco-efficiency คือ การจัดการให้ภาคธุรกิจมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวคิด Eco-efficiency นี้ ริเริ่มโดยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Business Council for Sustainable Development หรือ WBCSD ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มบริษัทชั้นนำระหว่างประเทศ และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในการประชุมสุดยอดด้านสิ่งแวดล้อม หรือ Earth Summit เมื่อปี 2535 โดย WBCSD ได้กำหนดแนวทางที่จะช่วยให้การดำเนินงานด้านธุรกิจประสบความสำเร็จในเชิงนิเวศเศรษฐกิจ 7 ประการ ดังนี้
1) ลดการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบในการผลิตและการบริการ
2) ลดการใช้พลังงานในการผลิตและการบริการ
3) ลดการระบายสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม
4) เสริมสร้างศักยภาพการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่
5) ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน
6) เพิ่มอายุของผลิตภัณฑ์ และ
7) เพิ่มระดับการให้บริการแก่ผลิตภัณฑ์และเสริมสร้างธุรกิจบริการ
แนวคิด Eco-efficiency ดังกล่าว เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับภาคธุรกิจ เนื่องจากเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจ (การเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กร) และการรักษาระบบนิเวศโดยการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ ยังเป็นดัชนีชี้วัดความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่มุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อันเป็นเป้าหมายโดยรวมของนานาประเทศในระยะยาวต่อไป

http://www2.mtec.or.th/website/article_list.aspx?id=116&cate=28