ปัญหาการระบุเพศของปลามังกร | |
เมื่อปีใหม่ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมฟาร์มมังกรของเพื่อนที่ตะกั่วป่ามา ทราบมาว่าปัญหาของปลามังกรหรือปลาอโรวาน่า( Arowana) คือ ตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะเหมือนกัน(monomorphic)จนแยกไม่ออก แม้จะใช้เครื่องมือไฮเทคราคาแพงที่มีขายในท้องตลาดก็ไม่สามารถระบุเพศของปลามังกรได้โดยไม่ผ่าออกมาดู ซึ่งจะเป็นปัญหามากในการซื้อขาย และ ในการจับคู่ผสมพันธุ์ ปัญหานี้ทำให้นึกถึงการแก้ปัญหาของ TRIZ โดยการค้นหา Resources ที่มีอยู่ในระบบมาแก้ปัญหาดังตัวอย่างที่จะอธิบายให้ฟังต่อไป http://www.bangkaew.com/elearning3/mod/forum/discuss.php?d=1658 |
ตอบ: ปัญหาการระบุเพศของปลามังกร | |
จะแยกแยะวงจรสมมูลย์ของเทวินินและวงจรสมมูลย์ของนอร์ตันที่อยู่ภายในกล่องดำได้อย่างไร ปัญหามีอยู่ว่ามีกล่องดำ 2 ใบที่เหมือนกันทุกประการ ข้างในบรรจุวงจรไฟฟ้าที่ต่างกัน อันหนึ่งเป็นแหล่งจ่ายแรงดัน 10 โวลต์ ต่ออนุกรมกับความต้านทาน 1 โอห์ม อีกอันหนึ่งป็นแหล่งจ่ายกระแส 10 แอมป์ต่อขนานกับความต้านทาน 1 โอห์ม โดยทั้ง 2 วงจรจะมีขั้วไฟฟ้า X และ Y ต่อออกมาภายนอกให้ทดสอบด้วยวิธีการต่างๆได้ตามรูป แต่ไม่ว่าจะทดสอบด้วยการวัดกระแสหรือแรงดันที่ออกมาด้วยวิธีการใดก็ตาม ผลลัพท์ที่ได้จะเท่ากัน เพราะทั้ง 2 วงจรนี้ต่างเป็นวงจรสมมูลของวงจรเดียวกันที่เราเรียกว่าวงจรสมมูลของเทวินินและวงจรสมมูลของนอร์ตัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความในคอลัมภ์ มองมุม TRIZ ที่ http://www.tpa.or.th/tpanews/ |
ตอบ: ปัญหาการระบุเพศของปลามังกร | |
เมื่อวานนี้ เพิ่งปรากฏข่าวบนหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ว่า ...ทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ดร.นันทริกา ชันซื่อ ใช้วิธีการตรวจสอบทางดีเอ็นเอ เพื่อใช้แยกเพศปลาให้ได้แม่นยำ เพื่อการจัดสัดส่วนปลาที่จะปล่อยลงในบ่อได้เหมาะสมและประหยัดหรือคุ้มทุนที่สุด วิธีใช้ก็ง่ายโดยไม่ทำให้ปลาช้ำหรือบาดเจ็บ เพราะว่านักวิจัยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างจากเมือกปลา หรือสิ่งขับถ่ายต่างๆ ของปลา โดยเก็บจากระบบกรองน้ำหรือจากเมือกปลาโดยตรง... เกษตรยุคใหม่ : ชุดตรวจแยกเพศปลาอะโรวานา ซึ่งก็ตรงกับแนวคิดการใช้ Resources ของ TRIZ (น้ำเมือกที่ละลายอยู่ในน้ำ) แต่การแก้ปัญหานี้ยังไม่ใช่การแก้ปัญหาในเชิงอุดมคตินัก (Ideality) เพราะยังต้องลงทุนไปหาซื้อเครื่องตรวจ DNA ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรภายนอกระบบที่ต้องไปหาซื้อมาด้วยราคาแพง ท่านใดมีวิธีการที่ดีกว่านี้บ้าง |