ตอบ: มองมุม TRIZ 1. วิวัฒนาการของปืนฉีดน้ำ | |
การต่อสายยาง คงไม่สะดวกสักเท่าไหร่ เลยมีนักประดิษฐ์รวมกระเปาะยางใส่น้ำเข้ากับตัวปืนตามหลักการข้อที่ 5 ของ TRIZ ว่าด้วย Combine แต่กระนั้นก็ตาม การใช้งานก็ไม่สะดวก ต้องใช้ 2 มือ และ ไม่เหมือนปืนจริง เลยมีนักประดิษฐ์คิดค้นปืนฉีดน้ำแบบใหม่ขึ้นมามากมายหลายร้อยแบบ (ค้นดูได้ที่ http://www.google.com/patents ) จนได้แบบที่พกพาสะดวก ใช้มือเดียวเหนี่ยวไกเหมือนปืนจริง ยิงได้หลายครั้ง เป็นรุ่นแรกๆที่นำมาใช้ในงานสงกรานต์บ้านเราเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว โดยใช้วาล์วทางเดียว(Check Valve)ช่วยเปิดให้น้ำออกในจังหวะที่เหนี่ยวไกสปริงอัดน้ำออกไป และใช้ Check Valve อีกตัวหนึ่งช่วยเปิดให้น้ำจากที่เก็บไหลเข้ามาอยู่ในรังเพลิงในขณะที่คลายไกสปริงออกเพื่อดูดน้ำเข้ามาทดแทน http://static.howstuffworks.com/flash/water-blaster-pistol.swf(Flash animation) ว่ากันตามหลักการวิวัฒนาการของ TRIZ คงตรงกับ Pattern ที่ว่าด้วย Simplify |
ตอบ: มองมุม TRIZ 1. วิวัฒนาการของปืนฉีดน้ำ | |
แต่เหนี่ยวไกสปริงบ่อยๆก็เจ็บนิ้ว โดยเฉพาะเด็กๆที่ข้อนิ้วยังไม่แข็งแรงพอ ก็เลยมีคนประดิษฐ์ปืนฉีดน้ำแบบใช้ถ่านช่วย โดยเมื่อเหนี่ยวไกเพียงเบาๆ ไฟจากถ่านไฟฉายจะไปเลี้ยงมอเตอร์ เพลามอเตอร์จะหมุนไปขับระบบฟันเฟืองไปเหนี่ยวไกสปริงให้แทน ทำให้สามารถยิงได้ต่อเนื่องแบบปืนออโตเมติกโดยดึงไกค้างไว้ http://static.howstuffworks.com/flash/water-blaster-motor.swf(Flash animation) ว่ากันตามหลักการวิวัฒนาการของ TRIZ คงตรงกับ Pattern ที่ว่าด้วย การใช้พลังงานที่มีลักษณะก้าวหน้ามากขึ้น (ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนพลังงานกล) |
ตอบ: มองมุม TRIZ 1. วิวัฒนาการของปืนฉีดน้ำ | |
ยังไรก็ตาม ความแรงของน้ำที่ฉีดออกไป ยังไม่แรงสะใจคนวัยโจ๋ เลยมีการประดิษฐ์ปืนฉีดน้ำแบบปืนบาซูก้าขึ้นมาโดยอาศัยหลักการเช่นเดียวกับเข็มฉีดยา โดยมือหนึ่งจับปืน อีกมือหนึ่งดึงไกออกเพื่อดูดน้ำเข้ารังเพลิง จากนั้นจึงดันไกเข้าไปให้น้ำพุ่งออกไปด้วยความแรง http://static.howstuffworks.com/flash/water-blaster-bazooka.swf(Flash animation) แบบนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นวิวัฒนาการแบบถอยหลังเข้าคลอง(กลับมาใช้ 2 มือ และใช้พลังงานกลเหมือนเดิม) แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการอีกสายหนึ่งคือการเพิ่มความแรงโดยใช้ทรัพยากรประเภทไอเดียจากเข็มฉีดยา |
ตอบ: มองมุม TRIZ 1. วิวัฒนาการของปืนฉีดน้ำ | |
แต่ดูเหมือนว่าจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ในขณะที่เราพยายามปรับปรุงให้ปืนฉีดน้ำมีความแรงมากขึ้น ปัญหาข้อด้อยที่ตามมาก็คือต้องใช้แรงในการดันน้ำออกแต่ละครั้งค่อนข้างมาก ซึ่งอย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่บางคนก้หมดแรงเสียก่อน http://static.howstuffworks.com/flash/water-blaster-soaker.swf(Flash animation) ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ เราอาจไปจับคู่ความขัดแย้งที่เหมาะสมแล้วไปเปิดตารางความขัดแย้งหาหลักการในการแก้ปัญหา หรือไล่หลักการทั้ง 40 ข้อก็ได้ หรือเราอาจมองหาตัวอย่างปัญหาที่ใกล้เคียงกัน เช่น ปัญหาการคว้านไส้ของพริกหวานโดยการค่อยๆเพิ่มความดันในถังอัดความดัน จากนั้นจึงลดความดันออกอย่างรวดเร็ว ไส้ของพริกหวานก็จะถูกดันออกมาด้วยความแรง จากไอเดียเดียวกันนี้ เราจะได้แนวคิดการใช้วิธีเพิ่มความดันให้กับปืนฉีดน้ำทีละน้อย เพื่อไม่ให้กินแรงมากเกินไป จนเมื่อความดันสูงพอ จึงค่อยเหนี่ยวไกปลดปล่อยน้ำที่มีความดันสูงให้พุ่งออกมา |
ตอบ: มองมุม TRIZ 1. วิวัฒนาการของปืนฉีดน้ำ | |
แต่ความขัดแย้งไม่หมดไปในครั้งเดียว ความขัดแย้งใหม่ที่เกิดขึ้นคือ เมื่อน้ำแรงขึ้น ใช้ปริมาณน้ำมากขึ้น ถังเก็บน้ำก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ปืนฉีดน้ำมีน้ำหนักมากขึ้น ถือนานๆ ก็เมื่อยมือได้เหมือนกัน มาลองหาแนวทางของ TRIZ ในการแก้ความขัดแย้งกัน ไปเปิดตารางความขัดแย้ง เช่นที่ http://triz40.com/ เลือกคู่ความขัดแย้งคือ คุณสมบัติที่ 14 กำลัง ขัดแย้งกับ คุณสมบัติที่ 1 น้ำหนักในขณะที่เคลื่อนที่ ได้หลักการนำไปสู่ไอเดียดังนี้ ข้อที่ 1 Segmentation แยกปืนฉีดน้ำออกเป็นส่วนๆ ข้อที่ 8. Anti-weight หาอะไรมาคานน้ำหนักของปืนฉีดน้ำ เช่น สายสะพาย ข้อที่ 40. Composite materials ใช้วัสดุอย่างอื่นที่เบากว่า ข้อที่ 15. Dynamics ถังเก็บน้ำกับตัวปืนไม่จำเป็นต้องยึดติดกันแน่น ก็สามารถนำไอเดียต่างๆนี้มาสร้างแนวคิดในการประดิษฐ์ปืนฉีดน้ำแบบเป้สะพาย แต่แนวคิดนี้ก็มีคนจดสิทธิบัตรทำออกมาขายนานแล้ว |