Nerium Oleander ยี่โถ ภูมิปัญญาไทย : ฆรินทุ์ NymPh ค้นหามาสรุปรวบรวม เพิ่มเติม
ชื่ออื่นๆ อินโถ (พายัพ) แปลจากศัพท์ว่า กณเวร, สฐสกฤต เป็น กรวีร ชื่อสามัญ Ceylon tree, South sea rose, Oleander ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nerium indicum Mill. วงศ์ APOCYNACEAE ลักษณะทั่วไป : - ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก ที่ลำต้นจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ความชื้นปานกลาง ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายแหลมและโคนใบสอบ ของเรียบไม่มีจัก มีสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างประมาณ ๑.๕-๒ ซม. ยาว ๘-๑๔ ซม. ดอก ออกดอกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอก เป็นรูปทรงกรวย มีทั้งชนิดลาหรือซ้อน มีหลายสี เช่น สีชมพูเข้ม สีชมพูและขาว ดอกพรรณนี้มีกลิ่นหอม เกสร - เมล็ด - ผล เป็นฝักคู่ และเมื่อแก่จัดจะแตกออกเห็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลได้ชัด ซึงเมล็ดนี้จะมีขน ละเอียดเป็นมันคล้ายเส้นไหมปกคลุมอยู่ และเมล็ดนี้สามารถลอยตามลมกระจายพันธุ์ได้ ฝัก - เปลือก เถา : - หน่อ - ขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอน ปักชำ ส่วนที่ใช้ : ใบ สรรพคุณ : ใบ จะมีทั้งคุณและโทษ ถ้าใช้ใบเกินขนาดจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ถ้าใช้ในขนาดพอเหมาะจะมีฤทธิ์เป็นยาบำรุงหัวใจ เป็นยาเบื่อหนูและฆ่าแมลงได้ ข้อห้ามใช้ : - อื่นๆ เป็นต้นไม้ที่เป็นพิษ ฉะนั้นอย่าให้เด็กนำมาเล่น เพราะในใบมี Cardiac glycosides ชื่อว่า neriin, nerianthin และ oleandrin มีฤทธิ์แรงมาก ในการนำมาปรุงเป็นยา เป็นสานที่มีทั้งคุณและโทษ คือถ้าใช้เกินกว่าขนาดจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ มีรายงานว่า ในประเทศอินเดียนำสัตว์เลี้ยงพวก วัว ควาย ม้า แพะ ฯลฯ ไปเลี้ยงไว้ใกล้กับต้น และได้กินใบเข้าไป ถึงแก่ความตาย ผู้กินเนื้อที่ใช้ไม้เสียบย่างไฟ ก็เกิดการเป็นพิษจนหมดสติ การเกิดพิษในคนที่รับประทานน้ำผึ้งจากตัวผึ้งที่ไปดูดน้ำหวานจากดอก อาการเป็นพิษ เนื่องจากใบ ทำให้อาเจียน คลื่นไส้ ชีพจรเต้นอ่อน ไม่เป็นจังหวะ ที่สุดม่านตาก็ขยายและหมดสติ การแก้พิษ เบื้องต้นให้ทานกาแฟ และรีบนำส่งโรงพยาบาล หัวข้อ: ฐานข้อมูลสมุนไพร ข้อมูลจาก : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม เรียบเรียง : ทีมงานสมุนไพร วัน อังคาร 14 พ.ย. 06@ 08:41:15 ICT
เวลาที่ดอกหอม หอมตลอดวัน ช่วงที่มีอากาศเย็นจะส่งกลิ่นหอมแรงกว่า ถิ่นกำเนิด แถบเมดิเตอร์เรเนียน จีน อินเดีย อิหร่าน ถิ่นที่อยู่ ถิ่นเดิมอยู่ในโปรตุเกส และแถบเปอร์เซีย มีผู้นำเข้ามาปลูกเป็นเวลานานมาก และ เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป เป็นไม้วงศ์เดียวกับ ลั่นทม ชำมะนาด กุมาริกา และโมก ส่วนประกอบ ทางยา : ประโยชน์ทางสมุนไพร ถ้าใช้เกินกว่าขนาดจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต ใบ ต้มรับประทานลดอาการบวม แก้ไข้มาเลเรีย ต้มน้ำรับประทานเพื่อแก้โรคพิษสุราเรื้อรัง ทำให้แห้งใช้เป็นยาไล่แมลง นำใบและเปลือกไม้ แช่น้ำอย่างน้อย 30 นาทีแล้วนำไปฉีดพ่นกำจัดมด เปลือก และเมล็ดมีสาร glycocide neriodorin ซึ่งมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง กิ่ง ก้าน ต้น นำมาทุบให้เกิดกลิ่น ไล่หนู แมลงสาป ปลวก มอด มด เมล็ด ใช้เบื่อหนู ดอก มีรสขม รับประทานแก้อักเสบ ปวดศรีษะ หมักชีวภาพ ไล่แมลง กำจัดโรคแมลง ผล ใช้ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ หมักชีวภาพใช้กำจัดหนอน ส่วนที่เป็นพิษ ลำต้น และยางจากทุกส่วน มีสารพิษชื่อ digitalis น้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ถ้ารับประทานจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า มองไม่ชัด เพ้อคลั่ง หัวใจเต้นอ่อน ความดันโลหิตลดลง และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ดอก เมื่อตัดดอกหรือหักกิ่งจะมีน้ำยางใสๆ ไหลออกมา ยางนี้เป็นพิษ หากสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดผื่นคัน หรือเป็นแผลพุพอง โดยเฉพาะถ้าเป็นการสัมผัสซ้ำเป็นครั้งที่สอง เมล็ด เปลือก และราก มีฤทธิ์กดการหายใจ อาการ : ระคายเคืองเยื่อบุในปากและกระเพาะอาหารก่อน ตามด้วยอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะและปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด ถ้ารับประทานมาก และล้างท้องไม่ทัน สารพิษจะถูกดูดซึมผ่านทางลำไส้ และแสดงพิษต่อหัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว ขึ้นกับชนิดของไกลโคไซด์ พิษต่อหัวใจและเลือด วิธีการรักษา : 1. นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด 2. ล้างท้อง 3. รักษาตามอาการ 4. ถ้าจาก EKG พบว่า มี Ventricular tachycardia ควรให้ potossium chloride (5-10 g) หรือให้ K+ (80 mEq/L) 5. การเจ็บแขนอาจช่วยด้วยการนวด และ ประคบน้ำร้อน ตำรับยา : - ข้อมูลทาง เภสัชวิทยา : น้ำจากพรรณไม้นี้ กับ สารสกัดด้วยเมทานอล แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งเชื้อได้ 50% (IC50) 10 m g/ml (8) ข้อมูลทาง คลีนิค : -
ไกลโคไซด์ (Glycoside) เป็นสารประกอบที่พบมากในพืชสมุนไพร มีโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ไม่ได้เป็นน้ำตาล ที่เรียกชื่อว่า aglycone (หรือ genin) และ ส่วนที่เป็นน้ำตาล ทำให้สารนี้ละลายน้ำได้ดี ส่วน aglycone เป็นสารอินทรีย์ ซึ่งมีสูตรโครงสร้างและเภสัชวิทยาแตกกต่างกัน และส่วนนี้เองที่ทำให้คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของ glycoside แตกต่างกันไป และทำให้แบ่ง glycoside ได้เป็นหลายประเภท เช่น - Cardiac glycoside มีฤทธิ์ต่อระบบกล้ามเนื้อหัวใจ และระบบการไหลเวียนของโลหิต เช่น สารในยางของใบ Nerium Oleander
เป็นพืชที่สามารถทนต่อสภาพ ของดินและอากาศหลากหลาย ทั่วๆ ไปเราจะเห็นขึ้นตามธรรมชาติ ในบริเวณใกล้ทะเลเมดิเตอเรเนียน ในตอนเหนือของทวีปอาฟริกาเริ่มจากมอรอคโคผ่านอัลจิเรีย ถึงตูนีเซีย ในแถบตอนใต้ของทวีปยุโรป ไปตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนจากบริเวณยิบรอลต้า ถึงเลบานอนและอิสราเอล และหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลเมดิเตอเรเนียน เช่น เกาะเครเต เกาะคอร์ฟู และเกาะไซปรัส บางพื้นที่ในแถบตะวันออก ขึ้นประปรายตามฝั่งแม่น้ำทิกริส ตั้งแต่แถบตะวันออก เฉียงใต้ของเตอรกี ไปถึงฝั่งอ่าวเปอร์เซียในอิหร่าน แถบอ่าวโอมานในพื้นที่ราบของอัฟกานิสถาน และปากีสถาน ในอินเดียตอนเหนือของกรุงเดลลี และบางพื้นที่ด้านตะวันตกของจีนและญี่ปุ่น
เป็นพืชที่สามารถปรับตัวเองในทุกสภาวะ สามารถเติบโตได้ดีในที่โล่งที่มีแดดจัด ที่ชุ่มชื้นตามหุบเขา หรือในพื้นที่ที่น้ำท่วมขัง แม้กระทั่งสภาพดินที่เป็นมีหินทรายดินเหนียว ได้ทั้งดินที่เป็นกรดหรือด่าง สามารถสร้างระบบรากได้แข็งแรงสามารถดูดซับความชื้นได้นานและคายน้ำได้ดีในบางโอกาส แม้กระทั่งในภาวะที่แล้งจัดเป็นระยะเวลานาน หรือในฤดูฝนที่มีน้ำท่วมขัง อีกทั้งสามารถอยู่ได้ดีจาก ระดับต่ำกว่าน้ำทะเลจนถึงกว่า ๘๐๐๐ฟิต เหนือน้ำทะเล
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นไม้ประดับของ กรีกโบราณ ในสวนของชาวโรมันและชาวจีน การปลูกในจีนเป็นงานอดิเรกของศิลปินและนักเขียน โดยยึดถือประเพณีการตัดช่อดอกไหว้ครู แม้กระทั่งชื่อของไม้พรรณนี้ ในภาษาจีนจะเขียนอังษร ๓ ตัว โดยมี ความหมายเรียงกันว่า สามัคคี ต้นไผ่ และ ดอกท้อ
จากการศึกษาฟอสซิลท่ามกลางเถ้าถ่านของภูเขาไฟวิซูเวียส ในเมืองปอมเปอีประเทศอิตาลี พบว่ามี การปลูกในสวนสาธารณะ ปรากฏตามรูปภาพตามพื้นและผนังที่ทำด้วยเซรามิกที่สร้างใน ค.ศ. ๗๙ ยังมีหลักฐานในยุคโรมันอื่น เช่น ภาพเขียนผนังในสวนดอกไม้ในอิตาลี ในห้องพักของสวนที่กษัตย์ ออกัสตัสได้สร้างให้กับพระมเหสีลิเวีย ต่างก็มีรูปและภาพสลักของดอกในที่ต่างๆ
ก่อนยุคประวัติศาสตร์ มีการปลูกทั่วไปในกรุงโรม สมัยของกษัตย์ซิซีโร (ปี ๑๐๖-๔๓ ก่อนคริสตการ) และมีการบันทึกของกรีกโบราณกล่าวถึง ทีโอเฟรตัส ผู้ได้อ้างถึง พืชชนิดหนึ่งที่เขาเรียกว่า ออโนทีรา oenothera (ปี ๓๐๐ ก่อนคริสตการ) ซึ่งได้มีความเชื่อว่าหมายถึงดอกไม้จากคำพรรณนาลักษณะที่ มีดอกคล้ายกุหลาบสีแดง ใบคล้ายต้นอัลมอน และมีส่วนประกอบของสารมีพิษ ในเหตุการณ์อื่นที่เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล ถึงแม้ว่าไม่มีการอ้างชื่อของดอกไม้นี้ แต่มีบทเขียนที่ระบุถึง ดอกไม้ที่มีลักษณะคล้ายดอกกุหลาบ
คัมภีร์อันศักสิทธัในภาษาฮิบบรู เขียนถึงต้นไม้นี้ไว้หลายตอน โดยแฉพาะในท่อนแรกของบท มิชนะ ซึ่งมีการรวบรวมในปีค.ศ. ๒๐๐ เขียนไว้ว่า เพราะเหตุที่โมเสสสามารถเปลี่ยนน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืด มันก็คือสิ่งอัศจรรย์ในความอัศจรรย์ มันก็เหมือนกับต้นซึ่งแม้มีดอกที่สวยงาม แต่มีรสชาติที่ขมขื่น และในอิสราเอลมีการใช้ต้นนี้ในการจัดสวนนับเป็นหลายศตวรรษ
เจอ ไม้ นี่ หนูหนี แน่ http://www.lunarcot.org/
|