คำตอบว่า ใช้ Effects อะไร มีอยู่ข้างบนแล้วนะครับ นั่นคือ ใช้หลักการการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของ Faraday เพราะฉะนั้น การรู้ Effects ไว้เยอะๆ จึงเป็นหนทางอย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาครับ เลยมีคนรวบรวม Effects ต่างๆเป็นพันเป็นหมื่น Effects ทำเป็นฐานข้อมูลให้เลือกใช้ตามฟังค์ชั่นการใช้งานที่ต้องการ อัลต์ชูลเลอร์รวบรวมจาก Effects ทางด้าน ฟิสิกส์ เคมี และ เรขาคณิต ตอนหลังๆมีคนเพิ่ม Effects ทางด้านชีวะ เข้าไปด้วย เช่น อยากได้ไฟหรือ ลองใช้ ปลาไหลไฟฟ้า หรือ หิ่งห้อย ดูดิ ไฟฉายแบบใช้มือบีบเอาที่มีกลไกเฟืองทดหมุนลักษณะไขลาน นั้น พึ่งได้ยินเป็นครั้งแรก แสดงว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เทคโนโลยีสามารถต่อยอดกันได้ ถ้าคุณมีไอเดียซะอย่าง อย่างที่คุณว่านั้น เป็นการปรับปรุงการใช้งานไฟฉายแบบโยกให้สะดวกมากขึ้น กินแรงน้อย เลยใช้วิธีส่งผ่านแรงผ่านเฟืองทดไปหมุนระบบให้เกิดการตัดเส้นแรงแม่เหล็กเพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำ น่าจะเป็นหลักการเปลี่ยนมิติ ( Transition of Dimension ) เหมือนรถไฟพลังไอน้ำสมัยรุ่นแรกๆ จะขับเคลื่อนด้วยก้านลูกสูบที่วิ่งช้กเข้าชักออกในแนวเส้นตรง แต่พอมีการใช้เครื่องยนตร์ดีเซลก็มีการส่งผ่านแรงให้ไปขับเคลื่อนในลักษณะหมุนเป็นวงกลม จะไม่เห็นก้านลูกสูบไปขับเคลื่อนล้อโดยตรงเหมือนรถไฟโบราณอีกต่อไป พูดถึงรถไฟพลังไอน้ำสมัยรุ่นแรกๆ ที่เปลี่ยนระบบขับเคลื่อนด้วยก้านลูกสูบที่วิ่งช้กเข้าชักออกในแนวเส้นตรง มาเป็นระบบส่งผ่านแรงให้ไปขับเคลื่อนในลักษณะหมุนเป็นวงกลม ก็อาจถือได้ว่า เป็นตัวอย่างของรีซอร์สในเชิงความคิดสร้างสรรค์ที่มีมาแต่อดีต |