ตอบ: ทำไมเขาไม่ออกแบบรถให้ไม่มีไอ้หูช้างยื่นออกมาข้างๆรถให้เกะกะ | |
ใจจริงผมคิดว่า วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี คงจะก้าวไปสู่ระบบติดกล้องแล้วออกจอนะ แต่เมื่อ จขกท ไม่เอาวิธีติดกล้องแล้วออกจอ ก็ต้องคิดปรับปรุงโดยถื่อว่ายังมีวัตถุที่เอาไว้ใช้มองด้านข้างอยู่ ที่เรียกว่า วัตถุที่เอาไว้ใช้มองด้านข้าง เพราะไม่ต้องการให้ยึดติดกับแนวคิดเดิมๆของกระจก เป็นการลด Psychological Inertia (การยึดติดกับประสบการณ์หรือแนวคิดเดิมๆ) ปัญหาคือ ต้องการทำให้วัตถุที่เอาไว้ใช้มองด้านข้างเล็กลง ไม่เกะกะ แต่ต้องไม่ทำให้ทัศนวิสัยแย่ลง เมื่อไปเปิดตารางแมทริกซ์ความขัดแย้ง อาจจะจับคู่ความขัดแย้งได้หลายคู่ เช่น เรื่องของพื้นที่ กับ การสูญเสียไปของข้อมูล ดังนั้น คู่ความขัดแย้ง จึงเป็น 6. พื้นที่ของวัตถุซึ่งไม่เคลื่อนที่ กับ 24. การสูญเสียไปของข้อมูล เมื่อไปคิดต่อ ก็อาจได้ไอเดีย เช่น แผ่นฟิล์มยืดหยุ่นหรือแผ่นเยื่อบางที่เคลือบให้มองสะท้อนภาพได้ แทนกระจก แล้วต่อท่อลมไปทำให้แผ่นฟิล์มยืดหยุ่นหรือแผ่นเยื่อบางนั้นยึดหดได้ เพื่อควบคุมรัศมีความโค้งของแผ่นฟิล์มยืดหยุ่นหรือแผ่นเยื่อบาง ทำให้สามารถปรับทัศนวิสัยการมองได้ คิดได้ แต่อาจไม่เวิร์ค ลองคิดต่อนะครับ |
ตอบ: ทำไมเขาไม่ออกแบบรถให้ไม่มีไอ้หูช้างยื่นออกมาข้างๆรถให้เกะกะ | |
เลยไปเลียนแบบ prism ครับ เย้ ! ได้ภาพหัวตั้งแล้ว |
ตอบ: ทำไมเขาไม่ออกแบบรถให้ไม่มีไอ้หูช้างยื่นออกมาข้างๆรถให้เกะกะ | |
ถ้าจะโยงไอเดียของคุณวิสันเข้ากับหลักการของ TRIZ คงจะสอดคล้องกับหลักการข้อที่ 17 ใน หลักการ 40 ข้อ ในการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (http://www.tpa.or.th/trizthailand/elearning/course/category.php?id=2) บางครั้ง เราอาจจะใช้หลักการต่างๆมาสร้างไอเดียได้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องไปหาคู่ความขัดแย้งเพื่อไปเปิดตารางแมทริกซ์ความขัดแย้งเพื่อหาหลักการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น |