ตอบ: ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาจากของเล่นพื้นบ้านของไทย | |
พญาลืมงาย หรือพญาลืมแลงเป็นของเล่นฝึกเชาว์ปัญญา จากตำนานมีอยู่ว่ามีพญาคนหนึ่งได้ยินคำร่ำลือของของเล่นชิ้นนี้ จึงอยากทดลองสติปัญญาแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถเอาชนะได้ พยายามหาทางเอาชนะให้ได้จนลืมกินข้าวงาย (ข้าวเช้า) และข้าวแลง (ข้าวเย็น) ทำจาก ไม้ไผ่ทุกชนิด เถาวัลย์ เชือกปอ ไม้อ้อ http://www.childthai.org/cic3/E-255.htm |
ตอบ: ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาจากของเล่นพื้นบ้านของไทย | |
ลองพยายามเอาเชือกที่คล้องอยู่กับไม้ตรงกลางออกมาโดยไม่ต้องถอดจุกปลายทั้ง 2 ครั้งนะครับ |
ตอบ: ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาจากของเล่นพื้นบ้านของไทย | |
โจทย์ข้อนี้ จะแก้ด้วยการลองถูกลองผิด ก็ได้ แต่คงใช้เวลานานพอสมควร ถ้าจะว่าตามแนวทางของทริซ จะต้องพยายามแปลงโจทย์ให้เป็นโจทย์นามธรรม แล้วหาเครื่องมือที่เหมาะสมมาแก้เพื่อหาไอเดียที่เป็นคำตอบนามธรรม จากนั้นจึงเสริมแต่งไอเดียนั้นให้เป็นคำตอบรูปธรรม ไม่แน่ใจว่า จะหาเครื่องมือที่เหมาะสมได้หรือไม่ ลองช่วยกันหาหน่อย http://www.bangkaew.org/elearning/mod/forum/discuss.php?d=32 |
ตอบ: ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาจากของเล่นพื้นบ้านของไทย | |
ลองดูเฉลยก่อน แล้วค่อยคิดดูว่าจะหาคำตอบแบบทั่วไปได้ไหม หรือ จะต้องใช้วิธี Trial and error ลองถูกลองผิดเพียงอย่างเดียว รอสักครู่ แล้วคลิกที่ปุ่ม Play ถ้าภาพยังไม่ปรากฏ ให้คลิกที่ลิงค์นี้ http://cm77.com/cmtv/payaa.wmv ขอขอบคุณ วิทยุล้านนา |
ตอบ: ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาจากของเล่นพื้นบ้านของไทย | |
ในปี 1736 , นักคณิตศาสตร์ชื่อ Euler ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มันเป็นไปไม่ได้ In 1736, Leonhard Euler proved that it was not possible.
โดยเขาได้แปลงเกาะและฝั่งให้เป็นจุด 4 จุด เชื่อมโยงด้วยสะพานที่แปลงให้เป็นเส้น 7 เส้น โดยไม่สนใจขนาดและรูปร่าง จะเห็นว่า มี 3 จุดที่มีเส้นสัมผัสอยู่ 3 เส้น และ มี 1 จุดที่มีเส้นสัมผัสอยู่ 5 เส้น Euler พิสูจน์ได้ด้วย Set และ Graph Theory ว่าการจะเดินข้ามสะพานให้ครบทั้ง 7 สะพานแล้วกลับมาที่เดิมโดยไม่ข้ามสะพานใดซ้ำได้นั้น จะต้องไม่มีจุดใดๆที่มีเส้นสัมผัสเป็นเลขคี่ ดังนั้นโจทย์ข้างบนมีจุดที่มีเส้นสัมผัสเป็นเลขคี่อยู่ถึง 4 จุด จึงเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ามีการสร้างสะพานเพิ่มเติมแล้วปรับโครงสร้างทางเรขาคณิตให้ไม่มีจุดใดๆที่มีเส้นสัมผัสเป็นเลขคี่ ก็จะสามารถเดินย้อนกลับมาได้โดยไม่ข้ามสะพานซ้ำ แต่ก็ไม่ได้บอกอยู่ดีว่า ต้องเดินยังไง น่าจะมีวิธีการแทนการลองผิดลองถูก คล้ายกับการให้คอมพิวเตอร์เดินหมากรุกแข่งกับคน น่าจะสร้างอัลกอลิซึมที่เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ เราอาจใช้รูปแบบ( Pattern)ของการแก้ปัญหาในอดีตดังกล่าวข้างต้น ไปพิสูจน์โจทย์ที่เป็นเรื่องของโครงสร้างทางเรขาคณิตดังเช่น พญาลืมแลง พญาลืมงาย ว่า มันเป็นไปได้หรือไม่ ก่อนที่จะโดนหลอกให้นั่งลองผิดลองถูกจนลืมกินข้าวกินปลา ใครพิสูจน์ได้ ช่วยบอกด้วย |
ตอบ: ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาจากของเล่นพื้นบ้านของไทย | |
รู้สึกว่าที่พันทิปจะมีคนช่างคิดมากเหมือนกัน http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2006/08/X4660010/X4660010.html |
ตอบ: ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาจากของเล่นพื้นบ้านของไทย | |
ในขณะที่ห้องวิชาการด็อตคอมมีแต่คนอ่าน ไม่มีคนตอบ แต่ก็ต้องขอบคุณที่ตามมาอ่านถึงชุมชนผู้สนใจทริซประเทศไทยที่นี่ ทำให้ Read Count เพิ่มขึ้นสูง http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=105&Pid=58564 |
ตอบ: ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาจากของเล่นพื้นบ้านของไทย | |
ขออนุญาตเอาเฉลยมาให้ดูกัน |
ตอบ: ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาจากของเล่นพื้นบ้านของไทย | |
โจทย์โทโปโลยีอีกข้อหนึ่ง |
ตอบ: ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาจากของเล่นพื้นบ้านของไทย | |
เครื่องมือของทริซอย่างหนึ่งที่น่าจะเกี่ยวข้องคือการใช้ Effects ซึ่งนอกจากจะใช้ Effects ของผลทางฟิสิกส์และเคมีแล้ว ยังมีการใช้Effects ของผลทางเรขาคณิตด้วย ดูตัวอย่างของ การใช้Effects ของผลทางเรขาคณิต ได้ที่กระทู้ โจทย์ของ TRIZ เพื่อพัฒนานักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ ข้อที่ 4. จะวัดความลึกของแม่น้ำแบบง่ายๆได้อย่างไร |