โจทย์ของ TRIZ เพื่อพัฒนานักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ ข้อที่ 2. จะวัดอุณหภูมิของตัวเห็บอย่างไรดี | |
อัลต์ชูลเลอร์พยายามส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กนักเรียนระดับมัธยมซึ่งมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ระดับหนึ่ง เขาพยายามรวบรวมโจทย์ง่ายๆ ฝึกให้เด็กคิด อย่างข้อนี้ก็มีอยู่ในหนังสือที่อัลต์ชูลเลอร์รวบรวมไว้ แต่ขอดัดแปลงหน่อย เดี๋ยววิญญาณปรมาจารย์ด้านทริซจะมาหาว่าเอาแต่ลอก ไม่รู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองบ้าง ข้อที่ 2. จะวัดอุณหภูมิของตัวเห็บอย่างไรดี เรื่องมีอยู่ว่า ตอนนี้เป็นฤดูเห็บระบาด สุนัขที่บ้านทั้ง 3 ตัวติดเห็บกันมากจนตัวจะเป็นดอกเห็ดอยู่แล้ว ตัวเมียจะอ้วนอุ้ยอ้าย ตัวผู้จะเล็กกว่าและไต่ยั้วเยี้ยอย่างรวดเร็ว แต่ต้องชมว่า ตัวผู้รักเดียวใจเดียว ไม่สำส่อน ย้ายคู่ไปเรื่อย เท่าที่สังเกตุดูจะเห็นว่ามันอยู่กันเป็นคู่ๆ แบบถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร เลยเชียว เอามือจับรูดออกมาจากตัวสุนัขทีไร มักจะได้เป็นคู่เสมอ ปัญหาคือ ต้องการวัดอุณหภูมิของตัวเห็บเพื่อวิจัยหายาป้องกัน ถ้าเป็นคน ก็ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิไปหนีบไว้ที่จักแร้ หรือ อมใต้ลิ้น ถ้าเป็นสุนัข ก็ใช้วิธีสอดเข้าไปในรูก้น แต่เห็บตัวกระจิดริดนี้ ไม่รู้จะวัดอุณหภูมิของตัวมันได้อย่างไร ขอเชิญทุกท่านช่วยกันคิดดูครับ แต่ระวังอย่าให้เห็บเข้าตา อย่างรูปนี้ จาก http://smart.tii.se/public/fredrik/news.php |
ตอบ: โจทย์ของ TRIZ เพื่อพัฒนานักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ ข้อที่ 2. จะวัดอุณหภูมิของตัวเห็บอย่างไรดี | |
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X4624948/X4624948.html |
ตอบ: โจทย์ของ TRIZ เพื่อพัฒนานักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ ข้อที่ 2. จะวัดอุณหภูมิของตัวเห็บอย่างไรดี | |
ถูกต้อง ค...ร๊า...บ เดี๋ยวจะมาอธิบายแนวคิดของ TRIZ อัลต์ชูลเลอร์แนะนำแนวคิด 2 อย่าง อย่างแรกคือ พยายามอย่ายึดติดกับความคิดหรือความเชื่อเก่าๆ เช่น พอพูดถึงแก้ว บางคนนึกถึง(แก้ว)ใส่น้ำทันที แล้วก็ตอบว่า เอาเห็บใส่ลงไปในแก้วที่มีน้ำ แล้ววัดด้วยปรอท(http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X4624948/X4624948.html) ซึ่งวิธีนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเห็บตัวเล็กไปที่จะเปลี่ยนอุณหภูมิของน้ำที่ล้อมรอบมันอยู่ เพื่อไม่ให้ยึดติดว่าแก้วเอาไว้ใส่น้ำ อัลต์ชูลเลอร์แนะนำว่าให้พยายามใช้คำทั่วๆไปที่เป็นศัพท์กว้างๆ อย่าไปใช้ศัพท์เฉพะ เช่น ใช้คำว่าภาชนะรองรับแทนแก้ว ใช้คำว่าอุปกรณ์วัดอุณหภูมิแทนปรอท ใช้คำว่าอุปกรณ์ยึดแทนคำว่าสกรู เป็นต้น จะทำให้เราสามารถคิดนอกกรอบได้ อย่างที่ 2 คือ พยายามมองปัญหาอย่างเป็นระบบ อย่ามองปัญหาเป็นจุดๆ บางครั้งต้องมองไปยังระบบส่วนบน(Supersystem)และระบบส่วนล่าง(Subsystem)ด้วย บางครั้งต้องเอาระบบย่อยๆที่เหมือนกันมารวมกันเป็นระบบใหญ่ๆดู อาจทำให้เราเห็นคุณสมบัติที่ต่างออกไป เช่น รวมเห็บเข้าด้วยกันทำให้วัดอุณหภูมิได้ง่ายขึ้น รวมหม้อน้ำ(Boiler)เล็กๆเข้าด้วยกันเป็นชุดหม้อน้ำขนาดใหญ่ ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกันได้ เช่น ลดระยะทางของท่อไอน้ำ ประหยัดปล่องไอเสีย เป็นต้น |