การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 4. ช่วยหนูกินยาด้วยค่ะ
โดย Wison Bunsangsuk - อาทิตย์, 25 มิถุนายน 2006, 09:21AM
 

วันนี้ ร้านปิด เลยมีเวลานั่งพิมพ์คำถาม
ด้องขอประทานโทษอาจารย์ด้วยที่เลียนแบบชื่อหัวข้อกระทู้
เริ่มเข้าสู่ปัญหาเลยดีกว่า

ผมมีลูกสาวคนแรก ชื่อเพนกวิน ตอนนี้อายุ 2 ขวบครึ่ง
เมื่อ 3 เดือนก่อน แกท้องเสียติดต่อกัน 3 ครั้ง แถมบอกว่าปวดท้องด้วย
เลยโทรไปปรึกษาพี่สะใภ้ที่เป็นหมอเด็ก
พี่เขาบอกให้กินยา Norfloxacin 100 mg (เอาเม็ด 400 mg มาตัดแบ่ง 4 ส่วน) กับ บุสโคพาน 1/2 เม็ด 2-3 วัน แล้วรอดูอาการ

ตามปกติ ถ้าเป็นยาสำหรับเด็กเล็ก มักเป็นยาน้ำหวานๆ  จะดูดใส่ syringe   จับบีบจมูกแล้วฉีดยาเข้าปากข้างกระพุ้งแก้ม แล้วปิดปาก เพนกวินมักจะกลืนได้เอง อาจมีโวยวายงองแงนิดหน่อย แต่ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร

หรือบางทีถ้าเพนกวินเริ่มรู้ทัน ก็จะผสมในนมหรือในน้ำหลอกให้กินได้อยู่ดี

แต่ไอ้ยา 2 ตัวนี้ มันดันเป็นยาเม็ด ไม่มีแบบยาน้ำเชื่อม แถมขมมาก ๆ  เด็กเล็กคงกลืนยาไม่เป็น จะทำไงดี ผมกับแฟนก็เป็นพ่อแม่มือใหม่ ไม่รู้ทำไง เลยถามพี่สะใภ้ (เขามีลูกหลายคนแล้ว แถมเป็นหมอเด็ก)  พี่สะใภ้บอกให้บดเป็นผงแล้วกินกับน้ำหวาน หรือของหวานๆ พยายามให้เด็กกินให้ได้

เลยพยายามลองหลายวิธี แต่ก๊ไม่ได้ผล ดังเช่น
- ผสมน้ำเชื่อมเยอะๆ หวังว่าจะเจือจาง แต่เพนกวินกินนิดเดียวก็รู้ทัน แหวะและไม่ยอมกินอีก ใส่ syringe ฉีดก็แหวะ อาเจียนด้วย แถมร้องไห้หนักมาก
- ใส่ไอติม  กินคำเดียวเลิก
- ละลายใส่นมให้กิน เลยพาลไม่กินนม แถมไม่เชื่อใจพ่อแม่อีก ให้กินอะไรก็ไม่ยอมแล้ว
ทดลองชิมด้วยตัวเองแล้วก็เข้าใจความรู้สึกเพนกวินดี ขมติดลิ้นเลย แหวะมาก
(แต่ก็ได้ idea ว่า ต่อไปจะห้ามลูกไม่ให้กินขนมอะไร ก็แค่แอบเอาอะไรขมๆโรยใส่ แค่นี้เด็กเลิกกินเลิกขอเด็ดขาด)

กลุ้มใจมาก เป็นปัญหาที่ "ต้องแก้ให้ได้" และไม่มีเวลามากด้วย เลยลองคิดแบบ TRIZ แบบงูๆปลาๆดู สุดท้ายก็ได้วิธีง่ายๆมาจนได้  ใช้ได้ผลทุกครั้ง จนเพนกวินหายเป็นปกติ

อยากให้เพื่อนสมาชิกลองช่วยกันคิดดูว่าจะทำยังไงได้บ้าง  และเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนหรือ hint กระบวนการคิดของเพื่อนสมาชิก ผมจะยังไม่เล่าให้ฟังว่าผมใช้วิธีไหน ไว้ปลายสัปดาห์ค่อยมาแชร์ขั้นตอนการคิดจนได้ solution ให้ฟัง  (ขอย้ำนะครับว่า ไม่ใช่เป็นการเฉลยคำตอบ)


ดูรูปน้องเพนกวินแล้ว ถ้าสงสารต้องช่วยกันคิดนะครับ


ยตรยบ: ยกร’รƒรกยกรฉยปร‘ยญร‹ร’ยทร’ยงร ยทยคยนร”ยคยทร•รจร ยกร”ยดยขร–รฉยนรฃยนยบรฉร’ยน ยตรยนยทร•รจ 4. ยชรจร‡ร‚ร‹ยนร™ยกร”ยนร‚ร’ยดรฉร‡ร‚ยครจร
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 มิถุนายน 2006, 07:31AM
 

รอให้คุณ Tanasak P  มาตอบให้อยู่ครับ   ลูกมะขามของท่านก็ไม่กินข้าว  ไม่กินยา  อาเจียรออกมาหมด   ดูรายละเอียดที่

http://www.bangkaew.com/elearning/mod/forum/discuss.php?d=1828

การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 4. ช่วยหนูกินยาด้วยค่ะ
โดย Tanasak Pheunghua - อาทิตย์, 25 มิถุนายน 2006, 09:23AM
 

ว่าจะหาเวลาไปเรียน Contemp กับอาจารย์ก่อนนะครับ ยิ้ม

คิดคร่าวๆ นะครับ โจทย์อยู่ที่ต้องทาน ทั้งๆที่ไม่อยากทาน

กระทำก่อน แนวๆว่า ทำให้ขมไว้ก่อน ก่อนเจอขมสุดๆ

เปลี่ยนอันตรายให้เป็นประโยชน์ >> นึกไม่ออก

สภาพแวดล้อมเฉื่อย >> ยาเจอน้ำ และน้ำลาย เลยขม

ก็อย่าให้ยาเจอน้ำ และน้ำลาย หรือเจอก็อย่าให้โดนลิ้น

นึกไม่ออกอยู่ดี

ขอคิดคืนนึงนะครับ พรุ่งนี้เย็นจะมาต่อ

ช่วง(ปี)นี้งานแน่นมาก ครับ

การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 4. ช่วยหนูกินยาด้วยค่ะ
โดย Wison Bunsangsuk - อาทิตย์, 25 มิถุนายน 2006, 07:34AM
 

เศร้าใจจัง ที่เห็นกระทู้เงียบเหงา แต่ยังไงก็มาเล่าให้ฟังตามที่รับปากเอาไว้

ตามที่เคยบอกว่าโจทย์ข้อนี้เป็นปัญหาที่ผม "ต้องแก้ให้ได้" และไม่มีเวลามากด้วย
ถ้ามองเป้าหมายแบบกว้างสุดทะเล ก็คงเป็น "ต้องการให้เด็กได้รับยาในปริมาณที่ถูกต้องเข้าสู่ร่างกาย"
ผมทราบว่าการสร้างสรรค์ solution ที่หลากหลาย ก็มาจากการ define ปัญหาในหลายๆแบบที่เปิดกว้าง แต่ในกรณีนี้ ผมต้องการ solution ที่ผมนำไปปฎิบัติได้เลย
ผมไม่ต้องการ solution ประเภท เปลี่ยนวิธีนำยาเข้าร่างกาย เช่นฉีด หรือให้ทางสายยางแทนทางปาก หรือ ประเภท ผลิตยาชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบบเดิม แต่ไม่ขม เนื่องจากผมคงไม่สามารถศึกษาว่า chemical ใดทำให้เกิดการฆ่าเชื้อ  และ chemical ใดทำให้เกิด"ความขม"
ดังนั้น ผมจึงขอจำกัดการตั้งโจทย์ไว้แค่ว่า ต้องใช้ยาตัวนี้ ให้เด็กทางปากเท่านั้น

ปัญหา : เด็กไม่กินยา  เพราะเด็กไม่กลืนยา
จะเขียนประโยคที่แสดงความสัมพันธ์ของระบบนี้ยังไงดี  คิดไม่ออกครับว่าใครเป็น subject   ปากหรือคอหรือกระเดือกที่เป็น subject   และคำว่า "กลืน" มีกลไกยังไง   แค่ความรู้ในการสร้าง model ยังไม่มีเลย พอเถอะ

เลี่ยงไปเป็น เด็กไม่กินยาเพราะรสขม
คราวนี้ค่อยง่ายหน่อย ผมลองเขียนประโยคแสดง model ของระบบเป็น
ยา -  กระตุ้น/สัมผัส  - ลิ้น
หรือ   ยา -  กระตุ้น/สัมผัส  - ต่อมรับรสในลิ้น   
Harmful effect ที่ทำให้เด็กไม่กิน = ขม

ยังไม่มี useful effect  คิดว่าสิ่งที่น่าจะทำให้เด็กกินยาได้คงเป็น หวาน
สรุป model นี้คือ
ยา -  กระตุ้น/สัมผัส  - ต่อมรับรสในลิ้น   
Useful effect ที่ทำให้เด็กกิน = หวาน
Harmful effect ที่ทำให้เด็กไม่กิน = ขม

รู้สึกว่า หวาน กับ ขม เป็น physical contradiction กัน
แนวทางแก้ปัญหาที่คิดไว้คือ
1. seperation principle
2. เติมอะไรก็ได้ที่เพิ่ม useful effect 
3.เติมอะไรก็ได้ที่ลด / neutralizing harmful effect
โดยนั่งเปิดไล่ 76 std solution class 1 ไปเรื่อยๆ  (มีต่อ)

การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 4. ช่วยหนูกินยาด้วยค่ะ
โดย Wison Bunsangsuk - อาทิตย์, 25 มิถุนายน 2006, 07:35AM
 

Soutions ตามแนวทางข้างบนคือ
1. เติมนมข้นหวานนิดหน่อย ผสมกับยาให้เป็น paste  ย้ำว่าให้มีปริมาณรวมน้อยๆ เพื่อจะได้ป้อนหมดในทีเดียวก่อนเด็กจะรู้แกว  เป็นการเติม external resource ที่เพิ่ม useful effect
2. std solution ข้อ 1.2.1  เติม S3 ที่ทำให้ ยา ไม่ contact ลิ้น  ก็น่าจะเป็นการนำยาผงใส่ capsule นั่นเอง  กรณีนี้คงไม่ work สำหรับเด็กเพราะเด็กกลืน capsule ไม่ได้
จริงๆแล้ว เด็กก็น่าจะกลืน capsule เล็กๆจิ๋วๆได้ ผมสังเกตจากเวลาเด็กกินน้ำส้มแบบมีเกล็ดส้ม เด็กก็ดูดๆกลืนๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ แต่เผอิญผมไม่ทราบวิธีว่าควรจะใช้อะไรทำ capsule จิ๋วนี้ดีที่ไม่ละลายเร็วในน้ำ และต้องทำเองได้ด้วย เลยรีบพอก่อนจะคิดฟุ้งซ่านต่อไป
3. seperation by space : จากความรู้ ม.ปลายที่ว่า ลิ้นคนเรามีต่อมรับรสคนละแบบที่คนละตำแหน่ง ปลายลิ้นรับรสหวาน โคนลิ้นรับรสขม โดยมีน้ำลายเป็นตัวพาให้กระจายไปทั่วลิ้น  ดังนั้น ถ้าเอาส่วนผสมตามข้อ 1 ไปแตะที่ปลายลิ้น น่าจะเพิ่ม useful effect และลด harmful effect ได้
4. ทำให้ไม่รู้สึกขมเวลาอยู่ในปาก  อันนี้เหมือนการใช้ยาชา แต่เราจะหายาชาจากไหน ยาชาง่ายๆตามบ้านก็คือน้ำแข็งนั่นเอง ผมทราบดีเพราะจับของแช่แข็งบ่อยๆ

(มีต่อ อีกแล้ว)

การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 4. ช่วยหนูกินยาด้วยค่ะ
โดย Wison Bunsangsuk - อาทิตย์, 25 มิถุนายน 2006, 07:35AM
 

สรุปคือผมใช้ข้อ 1,3,4 พร้อมกัน โดยทำตาม procedure ดังนี้
1. แบ่งยาปริมาณตามต้องการ บดให้เป็นผง
2. หยอดนมข้นหวานนิดหน่อย พอให้คลุมยาผงทั้งหมด คลุกให้ทั่ว
3. ระหว่างนั้น ให้คุณแม่เอาน้ำแข็งบดให้เด็กอมเล่นเยอะ ๆ เด็กชอบอยู่แล้ว
4. รีบจับเด็กอ้าปาก ป้ายยาผสมนมข้นหวานทั้งหมดที่ปลายลิ้น
5. เด็กจะโวยวายนิดหน่อย รีบให้เด็กอมน้ำแข็งเพิ่มเยอะๆ

ผลลัพธ์ที่ได้คือ work 100%  เพนกวินไม่แหวะ และโวยวายแป็ปเดียว หลังจากนั้น 2 วัน เพนกวินก็หายท้องเสียครับ

ผมไม่ทราบว่าข้อใดใน 3 ข้อที่ work หรือไม่ work  แต่ถึงแม้จะใช้ external resource เยอะไปหน่อย แต่ก็เป็นของพื้นๆทั้งนั้น อนาคตผมกะจะลอง simplify process โดยนำยา+นมข้นหวานไป freeze แล้วผสมกับน้ำแข็งบดเยอะๆ ให้เพนกวินกินเลย คิดว่าไม่น่าจะทำให้เพนกวินรู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังกินยาอยู่
 
ขอรบกวนให้อาจารย์ตรวจการบ้านด้วยครับ ผมรู้สึกว่าเวลาคิดจริง ขั้นตอนและวิธีการมันมั่วๆไม่เป็นตาม TRIZ ซักเท่าไหร่ ยังรู้สีกห่างไกลจากสิ่งที่อัลทชูลเลอร์โม้ไว้ว่า "ทำให้วิศวกรคนไหนก็ได้ สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์อะไรขึ้นมาก็ได้"

ขอบคุณครับ

การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 4. ช่วยหนูกินยาด้วยค่ะ
โดย Wison Bunsangsuk - อาทิตย์, 25 มิถุนายน 2006, 07:36AM
 

ตอนนี้ เพนกวินยิ้มแล้ว บ๊าย บาย  สวัสดีครับ


การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 4. ช่วยหนูกินยาด้วยค่ะ
โดย Wison Bunsangsuk - อาทิตย์, 25 มิถุนายน 2006, 07:37AM
 

ลองอ่านกันเล่นๆครับ

 แผนที่ลิ้นลวงโลก!! 
http://update.se-ed.com/207/taste.htm

ตอบ: ยตรยบ: ยกร’รƒรกยกรฉยปร‘ยญร‹ร’ยทร’ยงร ยทยคยนร”ยคยทร•รจร ยกร”ยดยขร–รฉยนรฃยนยบรฉร’ยน ยตรยนยทร•รจ 4. ยชรจร‡ร‚ร‹ยนร™ยกร”ยนร‚ร’ยดรฉร‡ร‚ยครจร
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 มิถุนายน 2006, 09:20AM
 

เพิ่งย้ายเซิร์ฟเวอร์กลับมาที่เดิม   ทำให้ข้อมูลในกระทู้หลังๆเพี้ยนไปกลายเป็นภาษาขอม  ต้องนั่งแก้กันด้วยมือ(ตัดแปะจากที่เซฟไว้)  เหลือหัวข้อเป็นภาษาขอมให้ดูเล่น กัดฟัน


คุณวิสันต์  รู้เรื่องทริซมากเลยนะครับ  ไม่ทราบศึกษาจากที่ไหน   ถ้ามีโอกาส   อยากเชิญมาร่วมอบรมและดูงานที่ญี่ปุ่นดังรายละเอียดใน (http://www.bangkaew.org/elearning/mod/forum/discuss.php?d=34)

อย่าเพิ่งน้อยใจว่า  มีคนให้ความสนใจกระทู้นี้น้อยนะครับ   ความจริงแล้วมีคนเข้ามาอ่านมาก   แต่ส่วนใหญ่อาจจะไม่แน่ใจว่า  จะเอาทริซมาประยุกต์ใช้อย่างไร จึงยังไม่มีคนตอบมากนัก   คงต้องรอให้ทริซแพร่หลายมากกว่านี้ (ตัวเลข Counter ไม่ถูกต้อง น้อยกว่าความเป็นจริง เพราะย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปๆมาๆ log file เก่า)

โจทย์ข้อนี้  สามารถใช้เครื่องมือง่ายๆของ Classical TRIZ เช่น ความขัดแย้งเชิงเทคนิค หรือ ความขัดแย้งเชิงกายภาพ  หรือ การวิเคราะห์สสาร-สนาม หาความสัมพันธ์ในเชิง Useful Effect และ Harmful Effect เพื่อมาหาไอเดียไปสู่คำตอบก็ได้   หรือ ถ้าขี้เกียจไปจับคู่ความขัดแย้ง    ก็อาจใช้ทริซยุคใหม่(Contemporary TRIZ)ไปหาคำตอบก็ได้  ดูได้จากบทความนี้ครับ http://www.bangkaew.org/elearning/file.php/13/upload/TRIZ_tn181.pdf

ทริซยุคใหม่(ของ Darrel Mann) นอกจากจะวิเคราะห์สิทธิบัตรในยุคปัจจุบันเพิ่มเติม  และปรับปรุงเนื้อหาของหลักการ 40 ข้อ และ ตารางแมทริกซ์ความขัดแย้งแล้ว   ยังชี้แนะว่า  เราอาจนำหลักการข้อใดข้อหนึ่งมาค้นหาไอเดียเพื่อการปรับปรุงสิ่งที่ต้องการ  โดยไม่ต้องไปจับคู่ความขัดแย้งเพื่อหาหลักการจากตารางแมทริกซ์ความขัดแย้งก็ได้

เมื่อดูจากไอเดียของคุณวิสันต์   จะสอดคล้องกับหลักการดังต่อไปนี้

1. การแบ่งออกเป็นส่วนๆ (ทำเป็นส่วนย่อย)     ทำยาเม็ดให้เป็นผง

24. ใช้ตัวกลาง    เคลือบยาด้วยนมข้นหวาน

30. แผ่นฟิล์มยืดหยุ่นหรือแผ่นเยื่อบาง   ห่อยาด้วยแคปซูล

39. สภาพแวดล้อมที่เฉื่อย   ใช้น้ำแข็งทำปากให้ชา 

อาจหาไอเดียอื่นๆจากหลักการข้ออื่นๆข้างล่างนี้
แล้วนำไอเดียมาผสมผสานเป็นคำตอบได้ครับ

1
หลักการ 40 ข้อ ในการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น

1. การแบ่งออกเป็นส่วนๆ (ทำเป็นส่วนย่อย)
2. การสกัดออก การแยกออก
3. คุณสมบัติประจำตัว
4. ความไม่สมมาตร
5. การรวมเข้าด้วยกัน
6. การใช้งานหลากหลายวัตถุประสงค์
7. การซ้อนกันเป็นชั้นๆ
8. การคานน้ำหนักกัน
9. การกระทำต่อต้านล่วงหน้า
10. การกระทำล่วงหน้า
11. การป้องกันล่วงหน้า
12. ใช้พลังงายนศักย์เท่ากัน
13. ทำกลับทิศทาง (กลับหัวกลับหาง)
14. ความเป็นทรงกลม
15. ความเป็นพลวัต
16. การทำกิริยาเป็นบางส่วนหรือมากเกินไป
17. เปลี่ยนไปสู่มิติใหม่
18. การสั่นสะเทือนเชิงกล
19. การกระทำเป็นจังหวะ
20. ความต่อเนื่องของการกระทำที่เป็นประโยชน์
21. การกระทำอย่างว่องไว
22. เปลี่ยนอันตรายให้เป็นประโยชน์
23. การป้อนกลับ
24. ใช้ตัวกลาง
25. การช่วยตัวเอง
26. การลอกแบบ
27. ใช้แล้วทิ้ง
28. เปลี่ยนทดแทนระบบเชิงกล
29. ใช้ระบบควบคุมด้วยลมอัดหรือน้ำมันอัด
30. แผ่นฟิล์มยืดหยุ่นหรือแผ่นเยื่อบาง
31. ใช้วัสดุที่เป็นรูพรุน
32. การเปลี่ยนสี
33. ความเป็นเนื้อเดียวกัน
34. คัดชิ้นส่วนออกและฟื้นฟูสภาพชิ้นส่วน
35. การแปลงคุณสมบัติ
36. การเปลี่ยนสถานะ
37. การขยายตัวเนื่องจากความร้อน
38. เติมออกซิเจนอย่างรวดเร็ว
39. สภาพแวดล้อมที่เฉื่อย
40. วัสดุผสม

ตอบ: ยตรยบ: ยกร’รƒรกยกรฉยปร‘ยญร‹ร’ยทร’ยงร ยทยคยนร”ยคยทร•รจร ยกร”ยดยขร–รฉยนรฃยนยบรฉร’ยน ยตรยนยทร•รจ 4. ยชรจร‡ร‚ร‹ยนร™ยกร”ยนร‚ร’ยดรฉร‡ร‚ยครจร
โดย Wison Bunsangsuk - พุธ, 28 มิถุนายน 2006, 07:29PM
 

สวัสดีครับ

ความรู้ TRIZ ของผมแค่งูๆปลาๆเองครับอาจารย์ ยังต้องฝึกฝนอีกเยอะ เดี๋ยวว่างแล้วคงต้องไปอ่าน Contemporary TRIZ ที่อาจารย์แนะนำด้วย ขอบคุณมากครับ

ผมเริ่มซื้อหนังสือ "40 หลักการ สร้างสรรค์นวัตกรรม" เมื่อ 4 ปีก่อน จากนั้นก็เริ่มหาอ่านเพิ่มเติมจาก internet ครับ และก็พยายามใช้บ้าง มั่วบ้างเท่าที่โอกาสจะอำนวย  เห็นว่าดีเลยแนะนำให้ลูกน้องไปซื้อหนังสือมาศึกษา บอกเพื่อนฝูงให้รู้จัก TRIZ แต่ก็ไม่ค่อยมีคนสนใจเลย

จริงๆอยากเข้าอบรมมาก  แต่ไม่มีตังค์ ถ้าเป็นสมัยที่ทำงานบริษัทก็คงหางบได้ ตอนนี้ยากจนครับ ต้องอาศัยของฟรีทาง internet ไปก่อนครับ

เคย "ฝัน" อยากลองทำ TRIZ workshop แบบนี้จริงๆจังๆซักที
- ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ร่วมกันตั้งโจทย์ปัญหาข้อหนึ่ง  เน้นว่าไม่ใช่ปัญหาเก่าที่ผู้บรรยายเตี๊ยมไว้ หรือเคยมีคนทำเป็น TRIZ example ไว้แล้ว (จะได้ไม่มีเฉลย)  ให้ทุกคนเห็นด้วยว่าไม่ใช่ technical field/science ที่ยากเกินไป ทุกคนที่เป็นวิศวกรน่าจะสามารถทำความเข้าใจได้
- จากนั้นให้เวลา 1 week  ให้ทุกคน (รวมทั้งผู้บรรยาย/วิทยากร ด้วย) กลับไปใช้กระบวนการและเครื่องมือของ TRIZ ในการหาแนวทางแก้ปัญหา และศึกษาหาความรู้ด้าน technic (จากทาง internet หรือสื่ออะไรก็ได้) เพื่อหา usable solution มาให้ได้อย่างน้อย 5 วิธี เน้นว่าต้อง usable และไม่แพงแบบฝันเฟื่อง
- ทำ report เป็น step by step ตั้งแต่ต้นจนถึง suggested solutions
- present ผลงานตัวเอง และให้วิทยากรตรวจ โดยเน้นที่กระบวนการว่าเป็น step แบบ TRIZ หรือไม่ ผิดตรงไหน มั่วที่ไหน และ solution ที่ได้ usable หรือไม่   และประกวดว่าของใครง่ายที่สุด ถูกที่สุด work ที่สุด

ถ้า TRIZ ดีจริงตามที่มีคนโม้ วิศวกรทุกคนก็น่าจะหา solution ได้หลายๆแบบ จริงมั้ย

ผมคิดว่าการที่ผู้ร่วมสัมมนาได้นั่งคิดโจทย์ข้อเดียวกันอย่างดุเดือดถึง 1 week พอมาดูวิธีหรือขั้นตอนการคิดของคนอื่น ก็จะเข้าใจข้อผิดพลาดของตัวเองได้ดีขึ้น และอยากทำความเข้าใจวิธีการคิดของคนอื่นด้วย เป็นการพัฒนาประสพการณ์และทัศนคติต่อ TRIZ ได้เป็นอย่างดี

(สมัยทำงานโรงงาน ผมเคยคิดวิธีแก้ปัญหาแบบง่ายๆ และประหยัดสุดๆได้  ดีใจมาก แต่พอคนอื่นเห็นคำตอบแล้วกลับบอกว่า ก็ไม่เห็นมีอะไรเลย  ง่ายๆ หมูๆ  มีเพียงหัวหน้าผมคนเดียวที่สนใจอยากรู้ว่ามันคิดได้ยังไง  สาเหตุก็เพราะเขาก็นั่งคิดปัญหาเดียวกันนี้มาก่อนหน้านี้หลายสัปดาห์ก็ยังคิดไม่ออก     solution ของ TRIZ หลายๆข้อก็เช่นกัน ถ้าดูแต่คำตอบ ไม่เคยคิดเองบ้าง ก็บอกว่าธรรมดา ง่ายๆ  ฉันก็รู้ เลยไม่น่าสนใจที่จะศึกษาจริงจัง)

เฮ้ ตื่นได้แล้ว ฝันจบแล้ว 

ตอบ: ยตรยบ: ยกร’รƒรกยกรฉยปร‘ยญร‹ร’ยทร’ยงร ยทยคยนร”ยคยทร•รจร ยกร”ยดยขร–รฉยนรฃยนยบรฉร’ยน ยตรยนยทร•รจ 4. ยชรจร‡ร‚ร‹ยนร™ยกร”ยนร‚ร’ยดรฉร‡ร‚ยครจร
โดย Jaran Sabseree - อังคาร, 4 กรกฎาคม 2006, 11:29AM
 

ปกติถ้าเป็นตัวผมเจอแบบนี้ผมจะใช้ 21. การกระทำอย่างว่องไว (Rushing Through)

รีบกลืนยาลงไปอย่างรวดเร็วจนไม่ทันรู้รสชาติ

วิธีนี้ไม่ต้องเสีย Resource เพิ่ม

แฮ่ๆๆ แต่ไม่รู้น้องเค้าจะเล่นด้วยได้ไหมเนี่ย

ตอบ: ยตร�ยบ: ยกร’ร�รกยกรฉยปร‘ยญร�ร’ยทร’ยงร ยทยคยนร”ยคยทร•รจร ยกร”ยดยขร–รฉยนรฃยนยบรฉร’ยน ยตร�ยนยทร•รจ 4. ยชรจร�ร�ร�ยนร�ยกร”ยนร�
โดย ?? ?? - อังคาร, 8 สิงหาคม 2006, 04:41PM
  ขออภัยไม่รู้ว่าแก้ปัญหาผมออกนอกเรื่องหรือเข้าเรื่องหรือไม่  แต่สงสารน้องเขา ก็ขอเสนอวิธีที่ผมเคยใช้ได้ผลอยู่นะครับ ไม่แน่ใจว่าใช้ได้กับทุกคนหรือไม่ก็โปรดพิจารณา (ก็อยากเข้ามาศึกษา Triz เหมือนกัน จะได้รู้หลักการที่ถูกต้อง แต่ผมอยู่ ตจว. สู่ค่าใช้จ่ายไม่ไหวทั้งค่าอบรมและที่พัก ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีโอกาส หรือช่องทางจะหารายได้จากความรู้นี้โดยตรง แต่สนใจมากๆ เผื่อวันข้างหน้าครับ)

ตอนลูกผมอายุใกล้เคียงกับในรูป ก็ใช้ยาน้ำก็ไม่มีปัญหา พอเจอยาเม็ด ตอนนั้นเขาพอจะฟังรู้เรื่องบ้างแล้ว ค่อยๆบอกก่อนว่า ขมเป็นยาให้อดทน  แม้นมันจะขมและกลืนยากเล็กน้อย เมื่อดืมน้ำตามก็หายกินแล้วจะหายขม อาการ...ได้หายไวๆ  เชื่อว่าหนูทำได้เหมือนผู้ใหญ่ หนูลองดูนะแล้วจะได้หายมาวิ่งเล่นได้  (การกินเป็นเม็ดที่ไม่โตเกินไปกลืนทีเดียวก็จบดีกว่า ขมน้อยกว่าเป็นผงที่ติดลิ้น หรือแบ่งทรมานหลายที ให้กินไม่โดยต้องหลอก แต่เตรียมขนมที่เขาชอบไว้แก้ แทน บอกเหตุผลที่เป็นจริงเขาจะเชื่อเราเสมอ) เมื่อเขายอมกินเองในครั้งแรก ก้รีบตบรางวัล ตามเขาชอบพอควร และชมเขาต่อหน้าคนอื่นว่าน้องยอมกินยาตามที่คุณหมอจัดให้เก่ง หลังจากนั้นก็ไม่มีปัญหาเรื่องกินยาอีกเลย

ไม่รู้ว่าจะเหมือนมีงานวิจัยในต่างประเทศหรือเปล่าก็ไม่รู้ว่ายาฉีดที่หมดฉีดแรงๆ หายไวกว่ายากิน แม้นมีระดับยาในเลือดเท่ากันก็ตาม น่าจะเป็นเหตุผลทางจิตวิทยามากกว่า

(ผมเชื่อว่าคงไม่มีหลักการใดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกเรื่อง แม้จะแก้ปัญหาเดียวกันก็ตาม และเชื่อเองว่าการแก้ปัญหาของบุคคลที่มีสภาพจิตมาเกี่ยวข้องมันซับซ้อนกว่าการแก้ปัญหาของเครื่องจักรละมัง ถ้าได้เรียนรู้แล้วผมอาจรู้ว่าคิดผิดหรือไม่หนอ)