การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 3. หมาชอบเล่นน้ำและคว่ำชาม | |
ใครที่เลี้ยงหมาบางแก้วไว้เฝ้าบ้าน คงรู้ดีว่า สุนัขพันธุ์นี้ของไทยเรานั้นแสนซนและฉลาด ชอบเล่นน้ำและคว่ำชาม เลยต้องหาวิธียึดชามไม่ให้มันคว่ำได้ โจทย์ข้อนี้ อาจมีทางแก้ได้หลายวิธี ฝากเพื่อนๆลองคิดดูครับ ทางแก้ที่ผมใช้ เป็นการหารีซอร์ส (Resource) ซึ่งได้แก่ไอเดียจากกรงขังสุนัขที่เขาทำที่ยึดชามเป็นวงกลมแขวนไว้กับลวดตาข่ายข้างกรง ก็เลยพยายามหาลวดมาใช้ แต่ไปพบรีซอร์สที่ไม่ได้ใช้ คือไม้แบดเก่าที่เสียแล้ว เลยนำมาทุบให้พอยึดกับชามดังกระทู้ข้างล่าง http://www.bangkaew.com/elearning/mod/forum/discuss.php?d=1708#15139 |
ตอบ: การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 3. หมาชอบเล่นน้ำและคว่ำชาม | |
ขอบคุณครับ คุณนิยามปัญหา(Problem Formulation)ได้ดี ไอเดียในการแก้ปัญหาก็น่าสนใจมากเลย Idea 1 น่าจะเข้าข่ายเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงเทคนิค ระหว่าง 33. ความสะดวกในการใช้(กินน้ำ) เมื่อไปเปิดตารางแมทริกซ์ความขัดแย้งที่ http://triz40.com/ ก็จะได้ข้อแนะนำให้ใช้แนวคิดของหลักการที่ 2,25,28,39 แต่แนวคิดของหลักการที่คุณใช้ น่าจะเป็น 10. การกระทำล่วงหน้า (อาจหาคู่ความขัดแย้งอื่นๆที่เหมาะสมกว่าก็ได้) ส่วน idea 2 เนื่องจากหมาใช้ขาหน้าเล่นน้ำ ดังนั้นจึงเปลี่ยนประโยคบนเป็น น่าจะเข้าข่ายเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงกายภาพ คือ ต้องการให้ในชามมีน้ำ และก็ไม่มีน้ำ ซึ่งอัลต์ชูลเลอร์ได้แนะนำวิธีแก้ปัญหาความแย้งเชิงกายภาพโดยใช้หลักการแห่งการแบ่งแยก ซึ่งอาจแบ่งแยกได้ในเชิงเวลา สถานที่ ภาพรวม-ส่วนย่อย และแบ่งแยกตามเงื่อนไข ไอเดียที่คุณเสนอ เรียกได้ว่า เป็นการแก้ปัญหาความแย้งเชิงกายภาพโดยใช้หลักการแห่งการแบ่งตามเงื่อนไข เช่นเดียวกับ เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ที่ออกแบบให้ เวลาดึงมาใส่ จะลื่น เวลารถชน จะฝืด |
ตอบ: การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 3. หมาชอบเล่นน้ำและคว่ำชาม | |
ขอบคุณอีกครั้งครับ ผมคิดว่าแนวทางการแก้ปัญหาของคุณวิสันที่พยายามเอาระบบควบคุมมาใช้ ถูกต้องแล้วครับ ใน 40 หลักการของ TRIZ ก็มีอยู่ข้อหนึ่งที่แนะให้ใช้วิธีการของ 23. การป้อนกลับ(Feed-back control) สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ แนวทางการแก้ปัญหานั้น จะต้องไม่เป็นการถอยหลังเข้าคลอง จะต้องไปในทิศทางเดียวกันกับวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี ซึ่งอัลต์ชูลเลอร์ได้วิเคราะห์จากสิทธิบัตรหลายล้านฉบับ แล้วกำหนดเป็นกฏของวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี ไว้ 8 แนวทาง คือ ไอเดียของคุณวิสันสอดคล้องกับข้อ 4 Evolution Toward Increased Dynamism and Controllability แต่ต้องดูว่าขัดแย้งกับข้ออื่นหรือเปล่า เวลานำ TRIZ ไปใช้งานจริงๆ เราจะพยายาม generate ideas ออกมาให้มากๆโดยใช้เครื่องมือต่างๆรวมทั้งกฏของวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี แล้วนำมาผสมผสานเข้ากับไอเดียอื่นๆ(รีซอร์ซ)ที่มีอยู่ ไอเดียไหนติดขัดมีปัญหาตามมา (Secondary problem) เราก็จะใช้วิธีการของ TRIZ generate ideas เพื่อหาทางแก้ปัญหาอีกรอบหนึ่ง วนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ Solution ที่เหมาะสม และขายได้ในท้องตลาด ข้อนี้อาจจะหา Solution ที่เหมาะสมยากหน่อย แต่อย่างข้อ การแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในบ้าน ตอนที่ 1. อ่างล้างมือเจ้ากรรม ก็ไม่นึกว่าจะมีใครคิดเหมือนเรา(หรือเราบังเอิญคิดเหมือนเขาก็ไม่รู้) นำไปทำขายเป็นท่อย่นเอนกประสงค์ใช้สำหรับอ่างล้างมือ ซิงค์ล้างจาน เดือนกันยาปีนี้ จะเชิญผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นมาทำ workshop training ในเรื่อง TRIZ for Product Planning and Development เดี๋ยวจะมีรายละเอียดมาให้ ใครสนใจ ก็เตรียมทำตัวว่างๆนะครับ หลักสูตร 4 วัน 26-29 กันยา ราคามิตรภาพตามแบบฉบับของ สสท. จะได้ลองนำความรู้ที่ได้มาตั้งโจทย์แล้วฝึกซ้อมกันดู |
µÍº: ¡ÒÃá¡é»ÑËҷҧ෤¹Ô¤·Õèà¡Ô´¢Öé¹&atild | |
ใครรู้วิธีแก้ไข encoding ข้างล่างนี้ ให้อ่านออกบ้าง ย้ายมาจากเซิร์ฟเวอร์ ที่เป็นรหัส latin1_swedish_ci àÃ×èͧ¡ÒõѴ¢ÒÊعѢ·ÕèàʹÍäÍà´ÕÂÁÒ áÁéÇèҿѧ´ÙâË´Êѡ˹èÍ áµè¡çÁÕÊÒÃÐáÅФÇÒÁËÁÒÂὧÍÂÙèã¹µÑÇ ÊÍ´¤Åéͧ¡Ñº¡¯¢Í§ÇÔÇѲ¹Ò¡ÒâͧÃкºà·¤â¹âÅÂÕ ã¹¢éÍ 2 Evolution Toward Increased Ideality ¤ÇÒÁà»ç¹ÍØ´Á¤µÔ (Ideality / Ideal Final Result) ã¹·Õè¹Õé Function ·Õèµéͧ¡Òä×Í ãËéËÁÒ¡Ô¹¹éÓ »Ñ¨¨Ñ·Õèà¡ÕèÂÇ¢éͧâ´ÂµÃ§ ¤×Í ¹éÓ ¡Ñº »Ò¡ËÁÒ »Ñ¨¨ÑÂÍ×è¹æ àªè¹ ªÒÁ ËÃ×Í ¢ÒËÁÒ à»ç¹à¾Õ§Êèǹ·ÕèÃͧÃѺÃкº¡Ò÷ӧҹÍÂÙèà·èÒ¹Ñé¹ ¶éÒÊÒÁÒöµÑ´»Ñ¨¨Ñ·ÕèÃͧÃѺÃкº¡Ò÷ӧҹÍÂÙè â´Â·ÕèÃкº¡çÂѧÊÒÁÒö·Ó§Ò¹ä´é áÊ´§ÇèÒ ÃкºàÃÒÁÕ·ÔÈ·Ò§·ÕèÁØè§ä»ÊÙè¤ÇÒÁà»ç¹ÍØ´Á¤µÔ ´Ñ§µÑÇÍÂèÒ§ »ÑËÒªÔé¹·´Êͺã¹ÀÒª¹ÐºÃèعéӡô àÃÒàÍÒªÔé¹·´ÊͺÁÒ·Óà»ç¹ÀÒª¹ÐºÃèØàÊÕÂàÅ Ãкº¡çÂѧ·Ó§Ò¹ä´é ¡ÒõѴ¢ÒËÁÒ à¾×èÍ»éͧ¡Ñ¹äÁèãËéà¡Ô´¼Åź·ÕèäÁèµéͧ¡ÒÃ(Harmful Effect) áÁé¨Ð·ÓãËéÃкºàÃÒÁÕ·ÔÈ·Ò§·ÕèÁØè§ä»ÊÙè¤ÇÒÁà»ç¹ÍØ´Á¤µÔ áµè¡çÍÒ¨·ÓãËéÃкºàÊÕÂËÒÂä´é à¾ÃÒÐàÃÒ¤§äÁèÊÒÁÒöá¡¢ÒÍÍ¡¨Ò¡»Ò¡ËÁÒä´é ÊÔ觷Õè¾Íãªéà»ç¹á¹Ç·Ò§ä´é¤×Í ·ÓÍÂèÒ§äà ãËéËÁÒ¡Ô¹¹éÓ â´ÂäÁèµéͧÁÕÀÒª¹ÐÃͧÃѺ(ãËé¢ÒËÁÒÁÒ¤ÇèÓä´é) |
ตอบ: µÍº: ¡ÒÃá¡é»ÑËҷҧ෤¹Ô¤·Õèà¡Ô´¢Öé¹& | |
รู้คำตอบแล้วครับ บังเอิญเห็นว่า ถ้าเราตั้งเมนูขวาบนเลือกภาษาเป็นอังกฤษ จะได้ตัวยึกยือคล้ายกัน ก็เลยตัดไปแปะไว้ในความเห็นข้างบน แล้วลองเปลี่ยน encoding ที่ View ก็จะอ่านภาษาไทยได้ดังนี้ เรื่องการตัดขาสุนัขที่เสนอไอเดียมา แม้ว่าฟังดูโหดสักหน่อย แต่ก็มีสาระและความหมายแฝงอยู่ในตัว สอดคล้องกับกฏของวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี ในข้อ 2 Evolution Toward Increased Ideality ความเป็นอุดมคติ (Ideality / Ideal Final Result) ในที่นี้ Function ที่ต้องการคือ ให้หมากินน้ำ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ น้ำ กับ ปากหมา ปัจจัยอื่นๆ เช่น ชาม หรือ ขาหมา เป็นเพียงส่วนที่รองรับระบบการทำงานอยู่เท่านั้น ถ้าสามารถตัดปัจจัยที่รองรับระบบการทำงานอยู่ โดยที่ระบบก็ยังสามารถทำงานได้ แสดงว่า ระบบเรามีทิศทางที่มุ่งไปสู่ความเป็นอุดมคติ ดังตัวอย่าง ปัหาชิ้นทดสอบในภาชนะบรรจุน้ำกรด เราเอาชิ้นทดสอบมาทำเป็นภาชนะบรรจุเสียเลย ระบบก็ยังทำงานได้ การตัดขาหมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลลบที่ไม่ต้องการ(Harmful Effect) แม้จะทำให้ระบบเรามีทิศทางที่มุ่งไปสู่ความเป็นอุดมคติ แต่ก็อาจทำให้ระบบเสียหายได้ เพราะเราคงไม่สามารถแยกขาออกจากปากหมาได้ สิ่งที่พอใช้เป็นแนวทางได้คือ ทำอย่างไร ให้หมากินน้ำ โดยไม่ต้องมีภาชนะรองรับ(ให้ขาหมามาคว่ำได้) |