ขอเชิญฟัง การบรรยายพิเศษ เรื่อง ประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาดูงาน ณ. ประเทศญี่ปุ่น
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 19 ตุลาคม 2006, 09:23AM
 
                                                ขอเชิญฟัง การบรรยายพิเศษ

เรื่อง

ประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาดูงาน  ณ. ประเทศญี่ปุ่น

Study Mission to Japan on Product and Process Innovation using TRIZ

วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2549

เวลา 09.00 – 12.00 น.

ณ. ห้องสัมมนา MR211 ชั้น2  ศูนย์จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ BITEC

จัดโดย  สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เนื่องในวัน “เทคโนโลยีของไทย 2549  Techno Mart 2006”

ความเป็นมา

TRIZ เป็นชื่อย่อในภาษารัสเซียของทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (Theory of Inventive Problem  Solving)  คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ  Genrich Altshuller เมื่อปี ค.ศ. 1946 โดยการค้นคว้าและวิเคราะห์สิทธิบัตรต่างๆ  กว่า 2 ล้านฉบับ  พัฒนาขึ้นมาเป็นเครื่องมือและฐานความรู้ต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาทางเทคนิคซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการปรับปรุงกระบวนการผลิต

                ภายหลังการล่มสลายของระบอบสังคมนิยมในรัสเซีย  องค์ความรู้ของ TRIZ ได้ถูกเผยแพร่เข้าไปสู่

ยุโรปและอเมริกา  มีบริษัทใหญ่ๆ  เช่น GM , Ford , Boeing,  ฯลฯ  นำไปใช้เป็นจำนวนมาก  และต่อมาได้ถูกเผยแพร่เข้าสู่เอเชียโดยมีหลายๆประเทศได้นำ TRIZ ไปใช้ เช่น  ญี่ปุ่น เกาหลี    สิงคโปร์ มาเลเซีย  และเวียดนาม เป็นต้น

                ญี่ปุ่นเริ่มนำ TRIZ เข้ามาเผยแพร่ในปี 1997 และมีการจัด TRIZ Symposium  ครั้งแรกในปี 2005 
มหาวิทยาลัยซันโนได้ทำการถ่ายทอดเทคนิคของ
TRIZ เข้าสู่ญี่ปุ่น  โดยมีการจัดฝึกอบรม  ให้บริการที่ปรึกษาและจัดทำซอฟต์แวร์เพื่อการแก้ปัญหาตามแนวทางของ TRIZ ขึ้น

                สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)  ได้มองเห็นความสำคัญของ TRIZ ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในเวทีการค้าโลก   จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ TRIZ จากมหาวิทยาลัยซันโน  ประเทศญี่ปุ่นมาเปิดคอร์สอบรมด้าน Classical TRIZ  และ  Contemporary TRIZ  อย่างต่อเนื่อง   ซึ่งได้รับความสนใจจากสมาชิกและภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี       ในปีนี้  สมาคมฯ จึงได้วางแผนการทัศนศึกษาดูงาน    ประเทศญี่ปุ่น  เรื่อง  “Product and Process Innovation by TRIZ”  ระหว่างวันที่ 7 - 14  ตุลาคม  2549  ขึ้นโดยไป เยี่ยมชมโรงงาน  ฟังตัวอย่างและดูการใช้ประยุกต์ใช้ TRIZ ในอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (  เช่น  Hitachi,  Fuji Film, Nissan, SANNO  ) และเยี่ยมชมนิทรรศการเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (TLO Exhibition  (Technology Licensing Organization)  และ   Miraikan Museum  ฯลฯ)

                สมาคมฯเห็นว่า ประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาดูงาน ณ. ประเทศญี่ปุ่น ในครั้งนี้  น่าจะเป็นโอกาสดีที่จะได้เผยแพร่ให้กว้างไกลออกไป  จึงได้จัดการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เนื่องในวัน “เทคโนโลยีของไทย 2549  Techno Mart 2006”

กำหนดการ

09.00 – 09.30      ลงทะเบียนรับเอกสาร

09.30 – 10.00      ชมนิทรรศการย่อย และรับประทานของว่าง-กาแฟ

10.00 – 11.00      ความเป็นมาของ TRIZ และการจัดทัศนศึกษาดูงาน ณ. ประเทศญี่ปุ่น

                                โดย ผศ.ไตรสิทธิ์  เบญจบุณยสิทธิ์

11.00 – 12.00      ประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการร่วมเดินทางไปทัศนศึกษา

                                โดย คุณกรณ์เดช  ธนภณพงศ์  และ คณะ

                                สัมมนาฟรี  เฉพาะ  100   ท่าน  เท่านั้น

การสมัคร

   ติดต่อสอบถามรายละเอียดและส่งใบสมัครมาได้ที่ คุณลดาวัลย์/คุณจิตรภาษณ์ โทรศัพท์ 02-258-0320-5ต่อ1112,1115 โทรสาร 02-259-9117 , 02-258-6440 หรือดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ http://www.tpa.or.th

…………………………………………………………………………….

แบบฟอร์มใบสมัคร

การบรรยายพิเศษ

ประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาดูงาน ณ. ประเทศญี่ปุ่น

Study Mission to Japan on Product and Process Innovation using TRIZ

วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2549 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องสัมมนาศูนย์แสดงสินค้าไบเทค

จัดโดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)   ร่วมกับ   กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

……………………………………………………………………………

ชื่อบริษัทฯ…………………………………ที่อยู่….………………………………………

…………………………………………………………………………………………

โทร……………………แฟกซ์………………………อีเมล………….……………………

 ชื่อ-นามสกุลผู้เข้าร่วมสัมมนา                                                                   ตำแหน่ง

1)………………………………………………/…………………………….

2)………………………………………………/…………………………….

 ชื่อ-นามสกุลผู้แจ้ง                                                                       ตำแหน่ง                                     ว/ด/ป สมัคร

            1……………………………………/……………………………//……/…../……

หมายเลขสมาชิกส.ส.ท…………..………………….(ในกรณีที่เป็นสมาชิก)

หมายเหตุ:   ในกรณีที่มีผู้สำรองที่นั่งเกินจำนวนที่สมาคมฯ กำหนดไว้ในหลักสูตร  สมาคมฯขอสงวนสิทธิ์ในการสำรองที่นั่งสำหรับท่านที่ส่งใบสมัครก่อน( first come, first serve)